วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2566

บันทึกเดินทาง Church of the Savior on Blood (Russia)


 💂Church of the Resurrection of Christ (St. Petersburg)

👭โบสถ์แห่งหยดเลือด

👮โบสถ์แห่งนี้เคยถูกใช้งานมาแล้วทุกด้านไม่ว่าจะเป็นคลังเก็บของไปจนถึงเป็นที่เก็บกองขยะ แต่ก็ได้หวนคืนกลับมามีความงดงามดังเดิมในฐานะสิ่งปลูกสร้างทางศาสนาชั้นนำแห่งหนึ่งของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กโบสถ์แห่งหยดพระโลหิตพระผู้ไถ่ (Church of the Savior on the Spilled Blood) หรือในชื่ออย่างเป็นทางการว่าโบสถ์แห่งการคืนพระชนม์ของพระเยซู 

💂โบสถ์แห่งหยดเลือด (Church of the Savior on Spilled Blood) หรืออีกเรียกชื่อว่า โบสถ์แห่งการคืนชีพ ตั้งอยู่ริมคลอง Griboedov เริ่มต้นก่อสร้างเมื่อศตวรรษที่ 17 ใช้เวลาก่อนสร้างยาวนานว่า 20 ปี สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระบิดา หรือพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 ซึ่งถูกลอบปลงพระชนม์บริเวณนี้ ในปี ค.ศ. 1881 ภายในตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจงด้วยฝีมือจิตรกรกว่า 30 คน ตัวโบสถ์เป็นงานศิลปะแบบรัสเซียดั้งเดิม ประดับประดาด้วยโมเสจพร้อมกับรูปภาพโมเสจขนาดใหญ่ยักษ์

👮ที่อยู่: เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย

💂วิธีการเดินทาง: เดินทางโดยเมโทรสายสีฟ้า ลงสถานี NEVSKY PROSPEKT

ช่วงเวลาที่ควรไป: ช่วงเดือนพฤษภาคม อากาศช่วงนี้จะเย็นสบาย

เวลาเปิด-ปิด: 10:30 - 18:00 หยุดวันพุธ

ค่าเข้าชม: ราคาตั๋ว 250 รูเบิล สามารถซื้อตั๋วได้จากตู้อัตโนมัติบริเวณทางเข้า

วีซ่า: เที่ยวรัสเซียไม่เกิน 30 วัน ไม่ต้องขอวีซ่า แต่ถ้าต้องการอยู่มากกว่า 30 วัน ต้องยื่นขอวีซ่าด้วยตนเอง

(ขอบคุณที่มาจากhttps://www.govivigo.com/ideas/397-russia)

👫โบสถ์แห่งหยดเลือด ที่รัสเซีย(Church of the Savior on Spilled Blood)


👮มีการตกแต่งด้วยกระเบื้องโมเสกมากมาย นักท่องเที่ยวสามารถชื่นชมการตกแต่งอันวิจิตรและมีสีสันสดใส พร้อมเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อันน่าเศร้าเบื้องหลังสถาปัตยกรรมอันน่าทึ่งแห่งนี้มาเยี่ยมชมโบสถ์แห่งนี้และยืนบนจุดที่อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยระเบิดโดยกลุ่มก่อการร้ายชื่อ People's Will ในปี 1881 



👮โบสถ์ได้รับการสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่อเล็กซานเดอร์ที่ 2 โดยพระราชโอรสของพระองค์ อเล็กซานเดอร์ที่ 3 การตกแต่งด้วยกระเบื้องโมเสกอย่างวิจิตรเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้โบสถ์แห่งนี้ใช้เวลาก่อสร้างยาวนานตั้งแต่ปี 1883 ถึงปี 1907 หลังการปฏิวัติรัสเซีย 


👮โบสถ์แห่งนี้ก็ได้เสื่อมโทรมลงและถูกนำมาใช้เป็นที่เก็บกองขยะและคลังเก็บของในเวลาต่อมา แต่ก็โชคดีที่หลังจากนั้นได้มีการเริ่มบูรณะโบสถ์แห่งนี้ในช่วงเริ่มต้นทศวรรษ 1970 ซึ่งมีการใช้เงินไปหลายล้านรูเบิลขณะเดินรอบตัวโบสถ์ (ขอบคุณที่มาจากhttps://www.expedia.co.th/Church-Of-The-Savior-On-Spilled-Blood-St-Petersburg-City-Centre.d6066725.Place-To-Visit)





👮นักท่องเที่ยวจะสังเกตเห็นหลังคาโดมที่โดดเด่นห้าหลัง โดยสองหลังมีการออกแบบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสามมิติ และหนึ่งหลังขดเป็นเกลียวขึ้นสู่ท้องฟ้า ที่ด้านบนหลังคาโดมประดับด้วยกางเขนทอง ซึ่งเป็นลักษณะที่โดดเด่นอีกประการของโบสถ์ที่งดงามแห่งนี้ สถาปนิก อัลเฟรด ปาร์ลันด์ ได้หยิบยืมองค์ประกอบต่างๆ มากจากมหาวิหารเซนต์เบซิลแบบบาโรกของเมืองมอสโก ซึ่งมีความหรูหราฟู่ฟ่าไม่แพ้กันใช้เวลาชื่นชมรายละเอียดของกระเบื้องโมเสกที่ประดับอยู่บนผนังบนพื้นที่รวมกว่า 7,500 ตารางเมตร 

👮โดยมีการแสดงภาพในหลากหลายสไตล์ทางศิลปะ รวมถึงแบบสมัยใหม่นิยมและแบบไบแซนไทน์ กระเบื้องโมเสกอันวิจิตรเหล่านี้แสดงเรื่องราวต่างๆ จากคัมภีร์ไบเบิล ลองมองหาภาพพระเยซูทรงถือพระวรสาร ซึ่งถอดแบบมาจากงานของจิตรกร นิโคไล ฮาร์ลามอฟ เมื่อมองไปที่บนหลังคาโดมของโบสถ์ นักท่องเที่ยวจะสามารถมองเห็นพระคริสต์ทอดพระเนตรลงสู่โบสถ์เบื้องล่าง นอกจากนี้ ยังสามารถพบกับภาพของ อเล็กซานเดอร์ เนฟสกี วีรบุรุษคนสำคัญของทั้งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กและรัสเซียทั้งประเทศ ในภาพโมเสกอันยิ่งใหญ่ภาพหนึ่งได้อีกด้วยอย่าลืมแวะชมอนุสรณ์แก่อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ที่งดงาม ซึ่งตั้งอยู่บนจุดที่พระองค์สิ้นพระชนม์ อนุสรณ์แห่งนี้ทำมาจากหินแจสเพอร์เป็นส่วนใหญ่ โดยประดับไปด้วยอัญมณีที่งดงาม เช่น บุษราคัม และลาซูไรต์ และตกแต่งด้วยกระเบื้องโมเสกมากมายที่แสดงสัญลักษณ์ทางศาสนานักท่องเที่ยวสามารถเดินไปยังโบสถ์แห่งหยดพระโลหิตพระผู้ไถ่ได้จากถนน เนฟสกี ปรอสเปคต์ (Nevsky Prospekt) และสถานีรถไฟใต้ดิน กอสตินี ดวอร์ (Gostiny Dvor) ในบริเวณใกล้เคียง โบสถ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันพุธ และมีการคิดค่าธรรมเนียมในการเข้าชม

(ขอบคุณที่มาจากhttps://www.expedia.co.th/Church-Of-The-Savior-On-Spilled-Blood-St-Petersburg-City-Centre.d6066725.Place-To-Visit)



















*゚・✿..:* *.:。✿*゚・•*.:✿✲-•(¯`°.•°•.* * .•°•.°´¯)*¤°• •:.:* *.:。✿*¨゚✎・ .

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น